5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าโลกปัจจุบันเกิดความแปรปรวนหลายอย่างเรียกรวมๆ ได้ว่า ‘ภาวะโลกรวน’ คือยิ่งกว่าโลกร้อนเพราะสิ่งที่เคยเกิดขึ้นปกติในหลายพื้นที่กลับตาลปัตรและรวนไปหมด เช่น อุณหภูมิโลกที่ร้อนมากขึ้น อากาศและสภาพฝนฟ้าที่ไม่เหมือนเดิม บางพื้นที่ตกหนักจนน้ำท่วม แต่บางพื้นที่กลับไม่ตกเลย

นอกจากนี้หลายงานวิจัยฉายภาพให้เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและต้องเร่งให้เกิดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน หลากหลายองค์การเองรีบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรับมือกับโลก ในฐานะช่างก่อสร้าง กลุ่มผู้รับเหมา วิศวกรก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือสถานการณ์นี้ได้เช่นกัน โดยหนึ่งในวิธีที่เข้ามาช่วยได้คือในเรื่องของการออกแบบอาคารที่ปรับเปลี่ยน พร้อมรับมือกับสถานการณ์มากขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน

เพื่อให้เห็นภาพอนาคตมากขึ้น กับ 5 งานออกแบบอาคารที่ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นให้รองรับในภาวะโลกรวนในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ทั้งอุณหภูมิที่มากขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุ

รับมือกับคลื่นความร้อน

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

เพราะความร้อนในเมืองไทยเป็นสิ่งที่ทุกคนกำลังเผชิญหน้า เราเริ่มเห็นได้ชัดมากกว่าเดิมถึงคลื่นความร้อนที่แผ่ออกมาจากเมืองและอาคาร หลายงานวิจัยเองก็มีการพูดถึงว่ากว่า 970 เมืองทั่วโลก กับผู้คนจำนวนกว่า 1.6 พันล้าน กำลังเจอกับปัญหาอุณหภูมิความร้อนสูง ทั้งในพื้นที่เมืองและพื้นที่ชานเมือง

การออกแบบอาคารที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้อาจต้องใช้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง เช่น มีการเพิ่มพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ใหญ่หรือพุ่มไม้ บ่อหรือบึงน้ำขนาดเล็กๆ บริเวณรอบอาคารและบ้านมากขึ้น เพื่อลดความร้อน ตลอดจนถึงใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอาคาร ทั้งเปิดพื้นที่โล่งมากขึ้นเพื่อให้อากาศสามารถระบายได้ หรือกระทั่งการยกหลังคาสูงขึ้น

รับมือกับภัยแล้ง

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นคือฝนตกไม่ถูกต้อง หมายความว่าในบางพื้นที่ที่ฝนไม่ค่อยตกกลับตกหนักขึ้น ในขณะที่บางพื้นที่ก็อาจประสบภัยแล้งขึ้นมาได้จากการที่ฝนไม่ต้องตามฤดูกาล ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่

ปัญหาที่ตามมาจากภัยแล้งคือการไม่มีน้ำใช้ในช่วงที่เข้าสู่หน้าแล้ง แนวทางการออกแบบอาคารและบ้านเรือนที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้คือการออกแบบพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำใต้ดิน เลียนแบบต้นไม้ธรรมชาติอย่างต้นเบาบับ (Baobab) ที่มีระบบเก็บน้ำอยู่ใต้ราก ตัวอย่างหนึ่งจากประเทศจีน ได้เลือกใช้ระบบ Sponge City หรือเมืองฟองน้ำ คือออกแบบการเมืองที่ใช้ระบบวิศวกรรมทางน้ำมาเพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำในแต่ละอาคาร รวมถึงอาจเข้ามาช่วยเหลือในกรณีที่ถ้ามีน้ำท่วมเยอะ ก็อาจใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำก่อนปล่อยระบายได้เช่นเดียวกัน

รับมือกับน้ำท่วมและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

บางพื้นที่เกิดภัยแล้ง ในขณะที่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำทะเลขึ้นสูงเกิดเป็นอุทกภัยขึ้นมาแทน จากงานวิจัยระบุว่าภายในปี 2025 จะมีผู้คนกว่า 410 ล้านคนบริเวณพื้นที่เสี่ยงอาจจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหานี้อย่างจริงจังมากขึ้น ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของภูเขาน้ำแข็ง และอาจส่งผลกระทบต่อเมืองได้

หนึ่งในแนวทางการออกแบบจากประเทศบังกลาเทศ คือการยกระดับพื้นบ้านให้สูงขึ้น ในลักษณะคล้ายกับการยกใต้ถุนบ้านของบ้านเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ เพื่อช่วยลดการเกิดโลกร้อนในระหว่างงานก่อสร้าง และการอยู่อาศัย พร้อมปรับเปลี่ยนพื้นที่บ้านให้มีรูปแบบ multi-function คือมีหลายหน้าที่ เพื่อรองรับในกรณีที่เกิดน้ำท่วมและจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเพียงพื้นที่เดียวเป็นระยะเวลาหนึ่ง

รับมือกับพายุและลมแรง

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

มีรายงานเพิ่มเติมว่าในบางประเทศที่มีภูมิอากาศแตกต่างจากเราอาจจะประสบกับปัญหาพายุไซโคลน และลมแรงมากขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากวิกฤตโลกรวนเช่นเดียวกัน ในงานออกแบบอาคารชนิดนี้จึงต้องเพิ่มความแข็งแรงในเรื่องของโครงสร้าง โดยเฉพาะกับโครงสร้างหลังคาที่ต้องมีความทนมากขึ้นเพื่อให้รับมือกับความแรงของลมได้

การเลือกใช้หลังคาทรงกลมก็จะช่วยลดแรงปะทะจากพายุได้เหมือนกัน ไปจนถึงการเลือกวัสดุที่ใช้งานให้มีความทนทานต่อลม ฝน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปมากขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน

รับมือกับความเย็นเพิ่มขึ้นฉับพลัน

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

นอกจากปัญหาอุณหภูมิสูงส่งผลให้ความร้อนมาก ในบางเขตของโลกอาจกลับตาลปัตร คือเป็นปัญหาของความเย็นที่มากขึ้นหรืออุณหภูมิที่ลดลงแทน การออกแบบอาคารรูปแบบนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญของการเพิ่มความร้อนภายในอาคารมากขึ้น เช่น การออกแบบพื้นที่เตาผิงภายใน ในดีไซน์บางประเทศอาจมีการฝังท่อเพิ่มความร้อน หรือท่อลำเลียงน้ำอุ่นที่บริเวณผนังและหลังคาเพิ่มเช้าไปเพื่อใช้ในกรณีที่อากาศภายนอกลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้วการเลือกใช้วัสดุที่ทนทานต่อความร้อนที่อาคารเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน เพื่อให้อาคารสามารถใช้งานและอยู่อาศัยได้จริง

จะเห็นได้ว่าในทุกๆ การออกแบบอาคารและบ้านเรือนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตการณ์โลกรวน หนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจคือการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการออกแบบนั้นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่มากขึ้น

สำหรับประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ดังนั้นแล้ว การเลือกใช้วัสดุที่ดี ทนทาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องจำเป็น การเลือกใช้แผ่นยิปซัมตราคนอฟเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คู่ควรกับบ้านเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ อีกทั้งยังสะดวกสบาย ติดตั้งง่าย และมาพร้อมกับความแข็งแรงที่ไว้วางใจได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของแผ่นยิปซัมตราคนอฟ

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

นอกจากนี้แล้วแผ่นยิปซัมคนอฟยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะ

  • เรียบ เนียน และสวยงามเหมาะสำหรับการออกแบบในหลากหลายพื้นที่
  • สามารถออกแบบเพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ถึง 45 เดซิเบลเมื่อติดตั้งควบคู่กับวัสดุที่เป็นฉนวนและโครงคร่าวคนอฟ
  • ไม่ดูดซับความร้อน ไม่ลามไฟ
  • สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
  • ไม่มีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมากถึง 5 ชนิด

  • ยิปซัมบอร์ดกันชื้น
  • ยิปซัมบอร์ดกันรังสี
  • ยิปซัมบอร์ดกันไฟ
  • ยิปซัมบอร์ดกันร้อน
  • ยิปซัมยอร์ดกันกระแทก

เราหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาคารชนิดต่างๆ โดยชัดเจนมากขึ้นเพื่อข้อมูลสร้างสรรค์และงานอื่นๆ เกี่ยวกับการแต่งบ้าน กระบวนการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมเราแนะนำให้คุณลองอ่านเว็บไซต์ของเราซึ่งจะมีการโพสต์บทความสองชิ้น งานต่อเดือนที่พร้อมนำเสนอและเต็มไปด้วยไอเดียดีๆ ให้ทุกคนได้ปรับปรุงบ้านและการก่อสร้างกัน bit.ly/42TDE73

ฝากติดตามเราได้หลากหลายช่องทาง ทั้ง

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน

ยิปซัมน่ารู้อื่นๆ