ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

การทำงานบนที่สูงคืออะไร?

การทำงานบนที่สูง หมายถึงการทำงานใดๆ ที่บุคคลอาจตกลงมาและบาดเจ็บได้ ไม่ว่าจะการใช้งานบันได บริเวณขอบหลังคา พื้นที่สูงที่มีช่องเปิด หรือแม้แต่แท่นขนของก็ถือได้ว่าเป็นการทำงานบนที่สูงด้วยเช่นกัน ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการป้องกันการตกสำหรับการทำงานที่มีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป เพื่อความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น Knauf แนะนำ 9 ข้อของมาตรการป้องกันจากการทำงานบนความสูง

ก่อนที่จะทำความเข้าใจถึงมาตรการป้องกัน อีกหนึ่งข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้คือปัจจัยสำคัญ เพื่อคำนึงถึงมาตรการในการป้องกันที่ถูกต้องมากขึ้น คือ ความถี่ของการทำงาน ระยะความสูง และสถานที่ปฏิบัติงาน จากตัวอย่างของตารางด้านล่างจะเป็นข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพในการเลือกอุปกรณ์และมาตรการป้องกันการตกที่ถูกต้อง โดยกำหนดหลักๆ จากระยะความสูง และความถี่ของงานนั้นๆ

สถานที่ปฏิบัติงานต่อความเสี่ยงอันตราย ชั่วคราวและไม่บ่อย ชั่วคราว ไม่บ่อย หรือไม่มีเลย
น้อยกว่า 1.8 เมตร จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตก จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตก
ระหว่าง 1.8 เมร ถึง 4.5 เมตร จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตกหรืออุปกรณ์ในพื้นที่ที่กำหนด จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตก
มากกว่า 4.5 เมตร ไม่จำเป็นต้องมีการป้องกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตกหรืออุปกรณ์ในพื้นที่ที่กำหนด
ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

1. ฝึกอบรมด้วยหลักสูตรที่เหมาะสม

ก่อนที่จะเริ่มทำงานกับแพลตฟอร์มหรือบนพื้นที่สูง สิ่งสำคัญคือการฝึกอบรมเรื่องการใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสม ทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องจักรต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งาน พร้อมควรอ่านคู่มือการใช้งานของแต่ละเครื่องจักรอย่างละเอียด และทำความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยทั้งหมด

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

2. ปฏิบัติตามกฎต่างๆ อย่างเคร่งครัด

อ่าน ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายจ้างหรือลูกจ้าง และหน่วยงานท้องถิ่น ตลอดจนเงื่อนไขเฉพาะทางที่ทางรรัฐบาลกำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้งานมากขึ้น รวมไปถึงมีการจัดฝึกอบรมมาตรการการป้องกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้งาน

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

3. ตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์และไซต์งาน

ก่อนเริ่มต้นการใช้งานควรมีการตรวจสอบหรือทดสอบระหว่างการใช้งานเป็นประจำเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงก่อนการใช้งาน รวมถึงปรึกษากับวิศวกรเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร และทำการประเมินความเสี่ยงของเครื่องจักรและสถานที่ทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่สุดในการใช้งาน

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

4. เลือกอุปกรณ์ป้องกันการตกที่เหมาะสม

หนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือเครื่องมือในการป้องกันการร่วงหล่นจากที่สูง หรือ ระบบป้องกันการตกส่วนบุคคล (PFAS) โดยจะต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ที่เหมาะสม รับรองด้วยมาตรฐานความปลอดภัย และมีความสบายในการใช้งาน เช่น การเลือกใช้เคฟลาร์แทนสายเชือกไนล่อนในการป้องกันการร่วงหล่นอาจเหมาะสมกว่า เนื่องจากเคฟลาร์สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่า ตลอดจนระยะของความสูงเองก็สำคัญซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามความสูงของพื้นที่การทำงาน ดังนั้นแล้วในการออกแบบมาตรการป้องกันจำเป็นต้องประเมินจากสถานการณ์และพื้นที่การทำงานจริงอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้ว การใช้งานของ PFAS จำเป็นต้องคำนึงถึงจุดยึดที่แข็งแรง เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของบุคคลที่กำลังทำงานอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยจำเป็นต้องผ่านการคำนวณอย่างเคร่งครัดและแม่นยำ หลักการง่ายๆ คือจุดยึดนั้นๆ จะต้องรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 2267 กิโลกรัมโครงสร้างของคานเพื่อยึดเกาะต้องแข็งแรงหรือใช้วัสดุที่แข็งแรง และต้องถูกติดตั้งอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

5. ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันการร่วงหล่นอย่างสม่ำเสมอ

อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือการตรวจสอบสภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ป้องกันการร่วงหล่นอยู่เสมอ เนื่องจากระบบอาจมีการสึกหรอได้ตามการใช้งาน สำหรับอุปกรณ์อย่างสายรัดและเชือกเส้นเล็กจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี หากไม่บ่อยกว่านั้น ตลอดจนผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้งาน และตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนในทุกๆ ครั้งก่อนเริ่มงาน

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

6. คำนวณเผื่อระยะการตก

นอกจากเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์เซฟตี้แล้ว เรื่องของระยะการร่วงหล่นเป็นอีกหนึ่งที่สำคัญที่เราควรจะเข้าใจ เพราะโดยธรรมชาติของการตก ทั้งวัตถุหรือคนจะมีจังหวะเหวี่ยงตัว จังหวะหย่อนของเชือก ดังนั้นแล้วลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ตกลงมา ต้องเข้าใจถึงขนาดของพื้นที่ และความสูง ระยะความยาวของเชือก ตลอดจนความสูงของคนทำงานด้วยเช่นกัน เช่น ถ้าต้องการใช้เชือกเส้นเล็กขนาด 6 นิ้ว กับอุปกรณ์ชะลอความเร็วก็อาจจะต้องใช้ความยาวของเชือกเส้นนั้นประมาณ 5.6 เมตรเพื่อความปลอดภัย

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

7. เข้าใจการใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกต้อง

การยกแท่นขนของหรือแพลตฟอร์มชึ้นเพื่อใช้งานบนที่สูง ข้อควรระวังหนึ่งคือห้ามยกขึ้นใกล้กับสายไฟฟ้าและต้องไม่เกิดการเคลื่อนที่หลังจากที่เริ่มยกขึ้นไปแล้ว ยกเว้นว่าเป็นเครื่องที่ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานรูปแบบนั้น รวมถึงข้อห้ามอื่นๆ ระหว่างการใช้งานอื่นๆ ไม่ว่าจะการนั่ง ยืน หรือปีนขึ้นไปบนราวกั้นขณะที่แท่นยกของกำลังทำงาน นอกจากนั้นแล้ว ในการใช้งานเครื่องจักรหรือแท่นยกของ เราจำเป็นต้องรู้ถึงขีดจำกัด ทั้งความสูงของเครื่อง น้ำหนักที่มากที่สุดที่เครื่องจะสามารถรับได้ เพื่อความปลอดภัยที่สุดของการใช้งาน รวมถึงสังเกตปัจจัยอื่นๆ ระหว่างการใช้งาน เช่น ความเร็วลม เพื่อให้เกิดการทำงานที่ปลอดภัยมากที่สุด

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

8. ใช้ราวบันไดกันตก

ถึงแม้ว่าจะมีระบบป้องกันอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเชือก อุปกรณ์การป้องกันอื่นๆ รวมไปถึงการเรียนรู้การใช้งานเครื่องจักรนั้นๆ แล้วก็ตาม แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นระบบการใช้งานที่ง่ายที่สุด นั่นคือการใช้ราวบันไดเพื่อกั้นตก โดยเลือกใช้งานราวกั้นให้เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งาน เช่น ระบบราวสำหรับหลังคาแบบเจาะและไม่เจาะ ราวกั้นตกสำหรับหลังคาเหล็กและพาราเพ็ต (พาราเพ็ต หมายถึง เชิงเทิน, กำแพงบังหน้า, ราวลูกกรง, รั้ว) ไปจนถึงราวกั้นตกรูปแบบปกติอื่นๆ เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนั้นแล้วยังควรเลือกใช้บันไดอย่างเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ก็สามารถความปลอดภัยของการใช้งานได้ เช่น มีส่วนขยายของบันไดประมาณ 3 ฟุต ในระยะที่ใช้งานบนที่สูง มีพื้นที่กว้างในการใช้งานที่เพียงพอ ตลอดจนมีราวบันไดกั้นตกที่เหมาะสม และหากต้องใช้บันไดกับพื้นที่สูงเกิน 0.9 เมตรขึ้นไป จำเป็นต้องมีอุปกรณ์กั้นตกอยู่เสมอ

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

9. เพิ่มความปลอดภัยด้วยคุณภาพวัสดุและการติดตั้ง

แน่นอนว่าสำหรับงานช่างอาจหลีกเลี่ยงการขึ้นไปทำงานบนที่สูงไม่ได้นัก แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและอาจนำมาสู่ความปลอดภัยที่มากขึ้นได้ คือการย่นระยะเวลาของการทำงานบนที่สูง เช่นเดียวกันกับ knuaf ที่มองเห็นถึงความสำคัญตรงนี้ จึงนำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีแผ่นยิปซัมตรา Knauf ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือการติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว เพื่อทั้งประหยัดเวลาและความปลอดภัยของการติดตั้งมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อมูลทางด้านเทคนิค

  • เรียบ เนียน และสวยงามเหมาะสำหรับการออกแบบในหลากหลายพื้นที่
  • สามารถออกแบบเพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ถึง 45 เดซิเบลเมื่อติดตั้งควบคู่กับวัสดุที่เป็นฉนวนและโครงคร่าวคนอฟ
  • ไม่ดูดซับความร้อน ไม่ลามไฟ
  • สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
  • ไม่มีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติที่แตกต่างกันมากถึง 5 ชนิด

  • ยิปซัมบอร์ดกันชื้น
  • ยิปซัมบอร์ดกันรังสี
  • ยิปซัมบอร์ดกันไฟ
  • ยิปซัมบอร์ดกันร้อน
  • ยิปซัมยอร์ดกันกระแทก

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักกับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยและวิธีดำเนินงานอย่างถูกวิธีมากขึ้น เพื่อข้อมูลสร้างสรรค์และงานอื่นๆ เกี่ยวกับการแต่งบ้าน กระบวนการก่อสร้าง สาระน่าสนใจในแวดวงอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเราแนะนำให้คุณลองอ่านเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะมีการโพสต์บทความสองชิ้นงานต่อเดือน พร้อมนำเสนอและเต็มไปด้วยไอเดียดีๆ ให้ทุกคนได้ปรับปรุงบ้านและการก่อสร้างกัน bit.ly/42TDE73

ฝากติดตามเราได้หลากหลายช่องทาง ทั้ง

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย

ยิปซัมน่ารู้อื่นๆ