อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ ตึกสูงระฟ้าที่หากใครนั้นใช้ชีวิตประจำวันในเมืองใหญ่อาจคุ้นตากันอยู่บ้าง แต่ตึกระฟ้าที่เราจะมาพูดถึงในบทความนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตึกสูงปกติ แต่เป็นต้นแบบของนวัตกรรมก่อสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ และ แบบอย่างของแนวคิดความยั่งยืนอีกด้วย นอกจากนี้เราจะมาลองคาดเดาถึงอนาคตของตึกระฟ้า ว่าจะเป็นอย่างไร และจะมีความหมายอย่างไรต่ออนาคต

ตึกระฟ้า หรือ 'Skyscraper' คืออะไร?

ตึกระฟ้าเป็นอาคารที่มีความสูงอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต) หรือ 150 เมตร (490 ฟุต) เป็นอาคารอเนกประสงค์หลากหลายฟังก์ชั่น โดยบางตึกอาจเป็นออฟฟิศทั้งตัวอาคาร และ บางตึกอาจมีทั้ง ที่พัก ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า และ อื่นๆ อีกมากมาย

ประชากรมากกว่าครึ่งของทั้งหมด 7.8 พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในเมืองหรือใกล้เขตเมือง และจากฐานข้อมูลต่างๆ คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 พันล้านคนภายใน 20-25 ปีข้างหน้า

ที่ผ่านมาเราได้เห็นผลประโยชน์ดีๆ มากมายของการมีตึกสูง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงที่อยู่อาศัยซึ่งมีประโยชน์มากในพื้นที่ที่ประชากรมีปริมาณมากเช่นกรุงเทพฯ เมืองที่ได้รับขนานนามว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น แต่อาคารเหล่านี้มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย

ข้อดี

ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ตึกระฟ้ามีผลประโยชน์ทางการเงินเป็นอย่างมากเพราะเป็นศูนย์รวบรวมผู้คน ธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายมาไว้ภายใต้ที่เดียวกัน

  • สร้างงาน: การก่อสร้างและบำรุงรักษาตึกจะช่วยสร้างงานเพิ่มขึ้น
  • การเติบโตของธุรกิจ: ตึกเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิด
  • รายได้จากค่าเช่า: เจ้าของตึกจะได้กำไรจากค่าเช่าที่สูงเนื่องจากพื้นที่มีจำนวนจำกัดในเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่าน
  • ดึงดูดนักลงทุน: สถานที่สำคัญเหล่านี้สามารถดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก

ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

พื้นที่เป็นสิ่งล้ำค่าที่สุด โดยเฉพาะในบริเวณเมือง นั่นหมายความว่านักลงทุนที่เป็นเจ้าของตึกระฟ้าเหล่านี้มีหน้าที่ใช้ประโยชน์จากทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด:

  • ช่วยแบ่งเบาปัญหาพื้นที่เพราะ: ตึกระฟ้าสามารถรองรับผู้คนจำนวนมากในพื้นที่ขนาดเล็ก
  • ประสิทธิภาพ: การใช้กำแพงร่วมกันและโครงสร้างพื้นฐานช่วยลดพื้นที่ทางเท้าของผู้อยู่อาศัย

สร้างจุดเด่นให้เมืองนั้นๆ

ตึกระฟ้ามักเป็นตัวกำหนดทิวทัศน์ของเมือง เพราะฉะนั้นนอกจากตึกเหล่านี้จะเป็นที่น่าสนใจแล้วยังช่วยสร้างความสวยงามเฉพาะตัวให้เมืองอีกด้วย

  • อัตลักษณ์: ทำให้เมืองต่างๆ มีภาพเงาอันเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
  • การท่องเที่ยว: อาคารสูงส่วนใหญ่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว และช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น
  • สร้างแรงบันดาลใจ: ตึกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความทะเยอทะยานสำหรับใครหลายๆ คน ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เห็นรู้สึกดี

ข้อเสีย

แต่ถึงแม้ว่าผลประโยชน์ต่างๆ ของตึกเหล่านี้มีมากก็ยังมีปัญหาบางปัจจัยที่ทำให้ผู้อยู่อาศัย นักพัฒนา และเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากไม่สนับสนุนการสร้างตึกเหล่านี้อย่างเต็มที่ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ :

1. ตึกยิ่งสูงก็ยิ่งมีมลพิษมากขึ้น

การสร้างที่สูงหมายถึงการใช้วัสดุมากขึ้นซึ่งจะต้องแข็งแรงพอที่จะทนต่อความสูง 400, 600 หรือ 800 เมตร สิ่งนี้จะเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก

2. ตึกจะรบกวนสภาพอากาศ

หากพื้นที่มีกลุ่มตึกระฟ้าอยู่เป็นจำนวนมากในเขตเมืองเดียวกันจะทำให้เกิดเกาะความร้อน เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูง ความร้อนจะกักอยู่ระหว่างระดับถนนกับอาคาร ทำให้อุณหภูมิไม่เย็นลงตามธรรมชาติเมื่อพระอาทิตย์ตก

3. ความเข้มข้นของมลพิษในเมือง

ยิ่งมีลมมาก คุณภาพอากาศก็จะยิ่งดีขึ้นเพราะมีการพัดพาอนุภาคที่ก่อให้เกิดมลภาวะออกไป อย่างไรก็ตาม เมืองที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติน้อย และมีตึกระฟ้าและถนนแคบจำนวนมาก ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ปรากฏการณ์หุบเขา" ในสถานการณ์นี้ สารพิษจะติดอยู่ที่ชั้นบน กรณีนี้เกิดขึ้นที่ประเทศฮ่องกงซึ่งมีตึกระฟ้าตามแนวชายฝั่งบังลมทะเล ทำให้เกิดมลพิษเพิ่มมากขึ้น

แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง?

  • ให้ความสำคัญกับแสงธรรมชาติในการออกแบบอาคาร
  • จัดการระบบระบายอากาศ ตึกควรได้รับการออกแบบให้ใช้ประโยชน์จากการไหลของอากาศตามธรรมชาติ
  • คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง
  • ใช้วัสดุที่ยั่งยืน และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง

แล้วอนาคตของตึกระฟ้าคืออะไร?

ด้วยความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและความต้องการโครงสร้างสูงในพื้นที่ประชากรหนาแน่น หนึ่งในนวัตกรรมที่อาจได้รับความนิยมมากขึ้นในวงการก่อสร้างคือการประยุกต์ใช้ไม้ในการสร้างตึกสูง ที่เห็นได้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา หลายๆ หน่วยในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างได้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างเหล็กและคอนกรีตไปเป็นโครงสร้างไม้สูง และ ผนังยิปซัมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่อาจเปลี่ยนโลกของการสร้างตึกระฟ้า

คือ 6 ตัวอย่างของตึกระฟ้าที่ใช้ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

1. เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ (เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน)

Shanghai Tower มีความสูง 2,073 ฟุต เป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับสองของโลก และ เป็นแบบอย่างของตึกระฟ้าที่ดีที่ที่หนึ่ง ตึกนี้มีกังหันลมมากกว่า 200 อยู่ด้านบนสุดของอาคาร กังหันเหล่านี้จ่ายพลังงานได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของทั้งอาคาร ส่วนตัวอาคารภายนอกที่เป็นกระจกโปร่งใสทั้งภายในและภายนอกของอาคารช่วยให้แสงส่องเข้ามาในอาคารได้สม่ำเสมอช่วยลดความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าได้เท่าตัว นอกจากนี้อาคารยังรวบรวมน้ำฝน นำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ และมีรวมมาตรการประหยัดพลังงานอีก 40 มาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 34,000 เมตริกตันต่อปี

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

2. One Central Park (ซิดนีย์, ออสเตรเลีย)

One Central Park ที่ซิดนีย์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากมายเช่นสวนแนวตั้งที่ประดับอยู่ด้านข้าง รวมทั้งพืช 383 สายพันธุ์ของอาคารซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50% ของส่วนหน้าอาคาร พืชเหล่านี้ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยออกซิเจน และให้ร่มเงาที่ช่วยประหยัดพลังงานให้กับอาคารได้อย่างดี

นอกจากนี้อาคาร One Central Park ยังมีเครื่องเฮลิโอสแตตแบบใช้มอเตอร์ 40 เครื่อง และ แผงกระจกสะท้อนแสง 320 แผงเพื่อจับและเปลี่ยนเส้นทางแสงแดดที่อาจหายไปในเงาของตึกสูง ปรับให้ไปยังพื้นที่ค้าปลีกและระเบียงที่มีวิวสวยงาม เป็นการเพิ่มความสวยงามด้วยแสงสะท้อน

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

3. ไทเป 101 (ไทเป ไต้หวัน)

ตึก Taipei 101 มีความสูงถึง 1,667 ฟุตและกินพื้นที่มากกว่า 2 ล้านตารางฟุต ตึกนี้ช่วยประหยัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 2,995 เมตริกตันต่อปี (เทียบเท่ากับการอนุรักษ์ป่าไม้กว่า 9 เอเคอร์จากการตัดไม้ทำลายป่า) อาคารแห่งนี้ยังใช้อุปกรณ์ติดตั้งน้ำไหลต่ำเพื่อประหยัดน้ำประมาณ 7.4 ล้านแกลลอนต่อปี และใช้โคมไฟประหยัดพลังงานที่มีสารปรอทต่ำหรือไม่มีสารปรอทเลย

นอกจากนี้เนื่องจากสภาพอากาศชื้นมากของไต้หวัน แต่ละชั้นของอาคารจึงมีเซ็นเซอร์สองตัวสำหรับตรวจสอบและควบคุมระดับความชื้น เซ็นเซอร์สามารถเปิดใช้งานระบบน้ำเย็นเพื่อลดระดับความชื้นได้อีกด้วย

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

4. โรงแรมโอเอเซีย (สิงคโปร์)

โรงแรมโอเอเชียที่ประเทศสิงคโปร์ผสมผสานสถาปัตยกรรมเข้ากับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบ โดยพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของอาคารมีไว้สำหรับระเบียงกลางแจ้ง ช่องว่างภายในตัวอาคาร โครงสร้างภายนอกที่มีรูพรุน และสวนลอยฟ้าแบบเปิดช่วยให้อากาศธรรมชาติไหลเวียนผ่านด้านในของอาคารได้ดี ด้วยวิธีนี้อาคารไม่มีความจำเป็นในการระบายอากาศด้วยกลไกอะไรทั้งนั้น และช่วยประหยัดพลังงานได้มากอีกด้วย นอกจากนี้โรงแรมโอเอเซียยังมีระบบน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อมปั๊มน้ำคอนเดนเซอร์ทำให้พื้นที่ปิดของโรงแรมเย็นลง

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

5. บาห์เรนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (มานามา, บาห์เรน)

สะพานลอยสามแห่งของบาห์เรนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มีกังหันลมที่ใช้สร้างพลังงานจากลมแรงที่พัดมาจากอ่าวเปอร์เซียที่อยู่ใกล้เคียง พลังงานนี้จะช่วยจ่ายไฟให้กับอาคารสำนักงานได้มากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อาคารแห่งนี้ประหยัดการผลิตพลังงานแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

6. Bank of America Tower (นิวยอร์กซิตี้, สหรัฐอเมริกา)

ตึกระฟ้าที่ยั่งยืนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเป็นตึกสูงแห่งแรกที่ได้รับการรับรอง LEED Platinum คือ Bank of America Tower ที่แมนฮัตตัน อาคารแห่งนี้ประหยัดน้ำได้ประมาณ 100 ล้านแกลลอนต่อปี เนื่องจากมีโถปัสสาวะไร้น้ำและห้องเก็บน้ำฝนบนหลังคาที่ใช้เพื่อทำให้ภายในห้องน้ำเย็นลง

นอกจากนี้หลังคาของตัวอาคารยังรวบรวมอากาศบริสุทธิ์เพื่อใช้ในอาคาร อากาศจะผ่านกระบวนการบำบัดด้วยตัวกรองที่มีประสิทธิภาพสูงก่อนที่จะกระจายไปยังพื้นที่ในอาคาร และกรองอีกครั้งก่อนที่จะถูกระบายออกไปสู่พื้นที่ภายนอก ซึ่งหมายความว่าอากาศที่ระบายออกจากอาคารสะอาดกว่าที่เข้ามา อาคารยังมีโรงงานผลิตของตัวเองที่ผลิตพลังงานสะอาดขนาด 4.6 เมกะวัตต์ ซึ่งให้พลังงานไฟฟ้ามากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และผลิตน้ำร้อนทั้งหมดของอาคารโดยไม่ต้องใช้พลังงานจากภายนอก

เราได้ทำความคุ้นเคยกับลักษณะเฉพาะของอาคารสูง รวมไปถึงจุดบกพร่องของตึกชนิดนี้ ท้ายที่สุดแล้วสิ่งสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ เราต้องไม่ลืมว่าแนวคิดความยั่งยืนและความก้าวควรเติบโตไปควบคู่กัน เราจึงอยากแนะนำผลิตภัณฑ์ Knauf ที่นอกจากจะแข็งแรงและได้ประสิทธิภาพแล้วยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์ความต้องการของพี่ช่างอีกด้วย

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของความร้อน วิธีที่ความร้อน และ ความชื้นสะสมในที่พัก และ วิธีหลายควบคุมแล้ว เราขอแนะนำวิธีสุดท้ายนั่นคือการปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นใจต่อสภาพอากาศโดยการเลือกติดตั้งแผ่นยิปซัมกันร้อน และ กันชื้นเพื่อบ้าน

เราแนะนำให้เลือกใช้วัสดุ Knauf เพราะเราเข้าใจถึงความต้องการของพี่ช่าง เราจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความตอบสนองต่อสภาพอากาศ แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วยังปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย

แผ่นยิปซัม Knauf มีให้เลือก 4 รุ่นแตกต่างกัน:

  • Heatshield: แผ่นยิปซัมบอร์ดกันร้อน
  • StandardShield: แผ่นยิปซัมบอร์ดชนิดมาตรฐาน
  • MoistShield: แผ่นยิปซัมบอร์ดชนิดทนชื้น
  • FireShield: ผ่นยิปซัมบอร์ดทนต่อเปลวเพลิง

  • เรียบ เนียน และสวยงามเหมาะสำหรับการออกแบบในหลากหลายพื้นที่
  • สามารถออกแบบเพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ถึง 45 เดซิเบลเมื่อติดตั้งควบคู่กับวัสดุที่เป็นฉนวนและโครงคร่าวคนอฟ
  • ไม่ดูดซับความร้อน ไม่ลามไฟ
  • สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
  • ไม่มีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากแผ่นยิปซัมแล้วคนอฟยังมีผลิตภัณฑ์ แผ่นยิปซัมทีบาร์ ช่องเซอร์วิส แผ่นอะคูสติก และอีกมากมายให้เลือกใช้

หลังจากที่เราได้ทำความรู้สึกกับอาการเสื่อมสภาพของโครงสร้างแล้ว เราก็สามารถเดินหน้าต่อด้วยการปรับปรุงใหม่ด้วยข้อมูลที่มีมากขึ้น ตราบใดที่คุณได้ทำการบ้านอย่างรอบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญแล้ว คำของคุณก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เราหวังว่าเราจะสามารถให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานี้ และมอบความมั่นใจให้กับคุณในการรับมือกับปัญหาในอนาคตได้อย่างไร้ห่วง

ฝากติดตามเราได้หลากหลายช่องทางเว็บไซต์ https://knauf.co.th/ และ ช่องทางอื่นๆ ตาม QR โค้ด

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน

ยิปซัมน่ารู้อื่นๆ