วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

การเลือกที่พักอาศัยในบริเวณที่เป็นถนนหลัก หรือที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่ผู้คนพลุกพล่านอาจหมายถึงความสะดวกสบายหลายๆ เรื่อง แต่สำหรับบางท่านความสะดวกสบายทำให้ต้องแลกกับความสงบเพราะเสียงรบกวน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะปัญหานี้มีวิธีรับมือที่ไม่ยุ่งยากหลากหลายวิธี หากคุณกำลังมองหาทางแก้ที่ให้คุณไม่จำป็นต้องเคลื่อนย้ายที่อยู่ และไม่ต้องเสียค่าซ่อมแซมมากจนเกินไป คนอฟมีวิธีแก้ที่จะคืนความสงบให้กับที่พัก หรือ ที่ทำงานของคุณ

เมื่อพูดถึงต้นตอของปัญหา คุณเคยสงสัยมั้ยว่าเสียงพวกนี้เข้ามารบกวนเราได้อย่างไร?

คำตอบคือคลื่นเสียงนั่นเอง คลื่นเสียงต่างๆ มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน คลื่นที่มีความถี่มากจะทะลุผ่านชั้นผนังได้อย่างง่ายดายในระหว่างที่คลื่นเสียงอื่นๆ ไม่สามารถซึมผ่านได้ ส่วนมากแล้วคลื่นเสียงจะเข้ามาทาง รอยร้าวรอยแตกในผนัง หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ ช่องสอดจดหมาย หรือแม้กระทั่งเครื่องปรับอากาศ ช่องอะไรก็ตามแต่ที่เชื่อมต่อกับโลกภายนอกห้อง สามารถช่วยให้เสียงรบกวนเดินทางผ่านเข้ามาได้ง่ายขึ้น

ก่อนที่คุณจะเริ่มแก้ปัญหาคุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างที่จะช่วยให้คุณจัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น

  • คุณควรระบุเสียงรบกวนที่คุณอยากควบคุม เสียงที่เกิดจากสาเหตุใกล้ตัวภายในบ้าน
  • การบล็อกเสียงไม่พึงประสงค์จากข้างนอก

ถ้าต้องการลดเสียงรบกวนภายในที่อยู่ควรเริ่มที่ตรงไหน?

เพื่อลดเสียงรบกวน คุณควรลดเสียงที่เกิดขึ้นจากเครื่องใช้ หรืออะไรก็ตามแต่ภายในบ้านที่คุณสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ก่อน เทคนิคการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเสียงรบกวนแบ่งออกเป็น 2 วิธี

  1. การแก้โดยดูดซับสียง: การดูดซับเสียงจะช่วยให้คลื่นเสียงไม่เด้งจากพื้นผิวต่างๆ

  2. แก้โดยการกั้นเสียง: การกั้นเสียงเป็นวิธีที่เน้นการใช้วัสดุ และวิธีต่างๆ ที่จะช่วยกั้นคลื่นเสียง

เพื่อป้องกันสียงรบกวนอย่างดีที่สุดจำเป็นต้องใช้การผสมผสานทั้งสองวิธี การใช้วิธีกั้นเสียงจะช่วยป้องกันจากคลื่นที่ทะลุมาตามช่องต่างๆ และเราแนะนำให้คุณติดตั้งวัสดุกั้น และซับเสียงไว้ทั้งภายใน และภายนอก

เมื่อเราได้ศึกษาปัจจัยสำคัญของปัญหามลภาวะทางเสียงแล้ว มาพบกับวิธีต่างๆ ที่จะช่วยป้องกัน และดูดซับเสียงจากช่องทางหลักๆ ในตัวออฟฟิศหรือบ้าน

วิธีกั้นคลื่นเสียงจากทางหน้าต่าง

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

ติดตั้งชิ้นวัสดุครอบหน้าต่าง: ชั้นกระจกเสริมจะถูกติดตั้งประมาณ 5 นิ้วจากขอบกระจกที่ฝั่งด้านในบ้าน ช่องสูญญากาศระหว่างตัววัสดุเสริม และกระจกจะช่วยป้องกันคลื่นเสียงไม่ให้ผ่านเข้ามาทางหน้าต่าง วิธีนี้สามารถป้องกันเสียงได้มากกว่าวิธีติดตั้งหน้าต่างบานคู่

เสริมซิลิโคนกันเสียง: วิธีกันเสียงง่ายๆ อีกทางหนึ่งคือการใช้ Acoustic Caulk หรือ ซิลิโคนซีแลนท์กันเสียงอุดเข้าตามซอกมุมประตูและหน้าต่าง วิธีนี้จะช่วยลดการส่งผ่านของเสียงโดยที่ยังเปิดปิดบานประตู และหน้าต่างได้ ด้วยคุณสมบัติเนื้อซิลิโคนที่มีสภาพเป็นของเหลวจะช่วยให้เข้าถึงซอกมุมได้เป็นอย่างดี

วิธีกั้นเสียงจากทางผนังห้อง

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

เสริมแผ่นยิปซัม: แผ่นยิปซัมนอกจากจะสามารถดูดซับเสียงได้ดีแล้วยังสามารถช่วยเพิ่มความหนา และความแข็งแรงให้ผนังห้อง หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่าเราแนะนำวิธีนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผนัง และ ป้องกันเสียงด้วยไปในตัว เราแนะนำให้คุณใช้แผ่นยิปซัมคนอฟรุ่น Knauf Cleaneo คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าได้ทางลิงค์นี้: https://bit.ly/3cNVAMe

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

ผนังและฝ้าอะคูสติก: การเลือกผนังและฝ้าอะคูสติกเป็นหนึ่งวิธีที่ได้ผลมากด้วยต้นทุนที่สบายกระเป๋า ทั้งน้ำหนักเบา และ ติดตั้งง่ายเป็นวิธีที่เราแนะนำอย่างมาก

สีป้องกันเสียง: สีประเภทนี้แห้งง่ายไม่ยุ่งยากเมื่อทา มีเนื้อสีที่เป็นเบสน้ำ และ สารประกอบ Viscoelastic ที่มีคุณสมบัติต้านคลื่นเสียง แต่ที่สำคัญที่สุดคือสีป้องกันเสียงสามารถป้องกันความก้องของเสียงได้ ด้วยเนื้อที่นิ่ม และหนาของชั้นสีช่วยลดการเด้งของเสียงจากผนังสู่ผนัง ความเสถียรของวิธีนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ และระดับของเสียงรบกวน สีกันเสียงจะช่วยคุณได้มากหากเสียงรบกวนไม่อยู่ในระดับที่ดังมาก แต่หากคุณอยู่ในพื้นที่ที่เสียงดังคุณจะยังคงได้ยินเสียงบ้างในระดับเบาๆ

วิธีกั้นเสียงจากช่องระบายอากาศ

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

อีกหนึ่งปัจจัยที่คุณควรให้ความสำคัญคือเสียงขนาบข้าง เสียงขนาบข้างคือเสียงที่เกิดจากช่องต่างๆ ระหว่างสองพื้นที่ห้อง หรือจากภายนอกห้อง เช่น ท่อ ข่องระบายอากาศ ฯลฯ

ติดตั้งแผ่นซับท่อ: เป็นวิธีที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเยอะ แผ่นซับท่อมีส่วนผสมของวัสดุฉนวน ถ้าบุเข้าตามผนังท่อจะสามารถช่วยซับเสียงได้เป็นอย่างดี

การติดตั้งแผ่นกั้นเสียง: แผ่นกั้นเสียงเปรียบเสมือนเขาวงกตที่ถูกสร้างขึ้นมาจากวัสดุต่างๆ เพื่อป้องกันเสียง เช่น แผ่นโฟม วิธีที่แผ่นเหล่านี้ช่วยกันเสียงคือแผ่นจะช่วยให้คลื่นเสียงเดินทางในวิธีที่ยุ่งยากขึ้นด้วยผิวที่มีดีไซน์เป็นรูปร่างต่างๆ นั่นทำให้คลื่นถูกดูดซับก่อนที่จะเดินทางต่อ บุวัสดุเข้าไปที่ท่อจะช่วยลดเสียงรบกวนได้จำนวนนึง

ติดตั้งท่ออ่อน: ความแตกต่างระหว่างท่ออ่อน และ ท่อปกติคือส่วนรูปทรง ท่ออ่อนสร้างเสียงรบกวนน้อยกว่าเพราะอนุภาคต่างๆ ในอากาศที่ผ่านท่อจะถูกดูดโดยความโค้งของท่อ

วิธีกันเสียงจากระบบเครื่องปรับอากาศ

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

ติดตั้งฝาครอบช่องระบายอากาศแบบตะแกรง: วิธีนี้สามารถช่วยทำให้แรงลมเบาลงเพื่อลดเสียงภายในบ้านเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ แต่หากคุณสนใจวิธีนี้ควรเข้าใจว่าหากคุณภาพเครื่องปรับอากาศของคุณไม่แข็งแรงอยู่แล้วอาจทำให้เครื่องทำความเย็นได้ไม่ดีเท่าก่อนการครอบ

ผ้าห่มซับเสียง: ผ้าห่มซับเสียงสามารถดูดเสียงได้มากถึง 30-50 เปอร์เซนต์ สามารถป้องกันการความเปียกชื้นไม่ให้เข้าสู่ตัวห้องได้อีกด้วย เป็นคุณสมบัติที่ครอบคลุมสองปัญหาไปในตัว วัสดุชิ้นนี้มีส่วนประกอบของฉนวนกระจกกันเสียงที่ช่วยดูซับคลื่นเสียง คุณควรติดตั้งวัสดุนี้ตรงส่วนคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเพื่อลดเสียงให้ได้มากที่สุด

ทำความสะอาดพัดลมในเครื่องปรับอากาศ: ปัญหาเรื่องเสียงไม่พึงประสงค์ส่วนมากเกิดจากการที่มีฝุ่นอุดตันในพัดลมเครื่องปรับอากาศ ลองทำความสะอาดพัดลมแล้วการทำงานของเครื่องจะดีขึ้น หากไม่มีการปรับปรุงควรติดต่อผู้ชำนาญด้านนี้เพื่อซ่อมแซม

วิธีกั้นเสียงจากประตู

วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง

ติดตั้งแผ่นยางกันเสียง: ยางมีคุณสมบัติช่วยป้องกันเสียงเพราะยางจะเพิ่มมวลให้กับพื้นผิว เพราะเหตุนี้คลื่นจะไม่สามารถผ่านออกจากชิ้นยางได้ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเพิ่มยางเข้าไปใต้พื้นไม้วัสดุจะดูดเสียงทั้งหมด และลดเสียงจากแรงปะทะ แผ่นยางกันเสียงส่วนมากแล้วเป็นวัสดุนีโอพรีน เมื่อติดตั้งควรอัดแน่นที่สุดเพื่อใช้ครอบพื้นที่โหว่ระหว่างประตู และบานประตู

ติดตั้งประตูอัตโนมัติ: ประตูอัตโนมัติชิ้นนี้มีการใช้กลไก flat-spring เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของประตู ขนแปรงของที่ติดตั้งที่ประตูจะอยู่เหนือพื้นระดับนึงเมื่อประตูเปิด แต่เมื่อคุณปิดประตูขนแปรงจะหย่อนลงที่พื้นเพื่อปิดกั้นห้องจากภายนอกเพื่อช่วยป้องกันเสียง

หลังจากที่คุณได้รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาเสียงรบกวนแล้วเราแนะนำให้คุณตรวจสอบบริเวณที่อยู่ของคุณ เพราะปัญหาเหล่านี้อาจเป็นต้นตอในกรณีของคุณก็เป็นได้ การพักอยู่ในที่พลุกพล่านไม่ใช่ปัญหาที่ขาดทางแก้ และเราหวังว่าข้อมูลที่เราได้รวบรวมมาในบทความนี้จะให้แรงบันดาลใจกับคุณ หากคุณมีปัญหาเรื่องบ้านเรื่องโครงสร้างฝ้าเพดานเพิ่มเติม เราแนะนำให้คุณตามไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มได้ที่ลิงค์ของเราเพื่ออ่านบทความสาระดีๆ อีกมากมาย

(เพจยิปซัมน่ารู้: https://bit.ly/3wXaW7L)

ยิปซัม คนอฟ คุณภาพดี เทคโนโลยีเยอรมัน

Article