รวม 9 ข้อกฏหมายสร้างบ้านพื้นฐานที่ต้องรู้
รวม 9 ข้อกฏหมายสร้างบ้านพื้นฐานที่ต้องรู้
ในการสร้างบ้านหลังหนึ่งนอกจากจะต้องมีแบบแปลน ทีมช่างก่อสร้าง และการออกแบบแล้ว อีกสิ่งที่ต้องรู้และเข้าใจคือเรื่องของกฏหมาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะเจ้าของบ้าน ช่างชำนาญการหรือผู้รับเหมาก็ควรมีความรู้และความเข้าใจด้านนี้ไว้ด้วยเช่นกัน วันนี้คนอฟชวนรู้จัก 9 กฏหมายพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างบ้านตั้งแต่ระยะร่นอาคาร พื้นที่ ความกว้างของเพดานและบ้าน ตลอดจนถึงเรื่องของบันไดบ้าน
แต่ก่อนจะไปถึงกฏหมายอื่นๆ สิ่งแรกที่ต้องทำและมีกฏหมายบังคับอย่างชัดเจนคือ ต้องขออนุญาตก่อนสร้างบ้านทุกครั้งที่จะเริ่มก่อสร้าง เพราะเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องส่งแบบเพื่อยื่นขออนุญาตก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่นายช่างหรือนายตรวจจากทางราชการมาตรวจพบระหว่างการก่อสร้าง และอาจมีการออกเอกสารให้ระงับงานก่อสร้างไว้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาต ไปจนถึงว่าหากสิ่งก่อสร้างที่ได้ทำไว้นั้นขัดต่อข้อกฎหมายอาจต้องรื้อถอนและทำใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอีกด้วย ก็จะทำให้งานก่อสร้างล่าช้าขึ้นมาได้ ดังนั้นแล้วการขออนุญาตไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ลืมไม่ได้เด็ดขาด
1. ระยะร่นอาคารรอบด้านไม่น้อยกว่า 2 เมตร
สำหรับการสร้างบ้านพักอาศัยที่มีช่องเปิดประตูหน้าต่าง จำเป็นต้องมีระยะถอยร่น ห่างจากเขตที่ดินโดยรอบไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือหากเป็นผนังทึบสามารถร่นห่างจากเขตที่ดินได้ 50 ซม. และตัวอาคารต้องสูงไม่เกิน 15 เมตร ในกรณีที่ต้องการสร้างชิดเขตที่ดินจะต้องได้รับหนังสือยินยอมจากที่ข้างเคียงด้วย
2. ที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่า 30 % ของที่ดิน
เพราะกฎหมายไทยกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า บ้านพักอาศัยจะต้องมีพื้นที่ว่างภายนอกไม่น้อยกว่า 30% ดังนั้นแล้วเราจะไม่สามารถสร้างบ้านเต็มพื้นที่ดินได้ ต้องมีที่ว่างและระยะร่นตามกฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่อึดอัดจนเกินไป
3. ประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร
สำหรับผนังบ้านที่มีประตูหรือหน้าต่างไม่ว่าจะเป็นชั้น 1 หรือ 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร สำหรับกรณีที่เป็นบ้าน 3 ชั้นหรือมากกว่า จะต้องอยู่ห่างจากรั้วไปอีกอย่างน้อย 3 เมตร เพื่อให้ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย ดังนั้นแล้วในการสร้างบ้านหลังหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงขนาดของพื้นที่ด้วยเช่นกัน คือถ้าที่ดินขนาดเล็กแต่ต้องการสร้างบ้านถึง 3 ชั้นด้วย ก็อาจจะไม่คุ้มเมื่อต้องเว้นระยะจากที่ดิน
4. แต่ละห้องต้องมีหน้าต่างหรือช่องแสง
พื้นที่ต่างๆ ในห้องไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน หรือห้องเก็บของ แต่ละห้องจำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับระบายอากาศทั้งประตู หน้าต่าง ช่องแสง และช่องลม รวมๆ กันแล้วไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ในห้องนั้นๆ ถ้าเราเลือกสร้างห้องทึบที่ไม่มีช่องระบายอากาศเลยหรือน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ จะถือว่าผิดกฎหมายอาคารทันที
5. ห้องนอนต้องมีพื้นที่ใช้งานไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร
นอกจากเรื่องของช่องระบายแล้ว พื้นที่ของห้องนอนยังถูกกำหนดไว้ในกฏหมายด้วย เพื่อให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น พื้นที่ห้องนอนจำเป็นต้องมีความกว้างขวางและโปร่งโล่งมากพอ โดยกฏหมายได้กำหนดไว้ว่าห้องนอนต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 8 ตารางเมตร พร้อมกับมีด้านแคบสุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร ดังนั้นพื้นที่ห้องที่เล็กที่สุดที่สามารถสร้างได้คือ 3 X 3 เมตร เป็นอย่างน้อย หากพื้นที่ด้านแคบขนาด 2 เมตร แต่มีความยาวมาก และทำให้มีพื้นที่ทั้งหมดเกิน 8 ตารางเมตรก็ไม่สามารถจัดเป็นห้องนอนได้ เนื่องจากติดข้อกำหนดในเรื่องของพื้นที่ด้านแคบนั่นเอง
6. เพดานห้องน้ำต้องสูงกว่า 2 เมตร
อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงคือเรื่องของห้องน้ำ โดยมักจะเกิดในกรณีที่เราอยากใช้พื้นที่ในบ้านให้คุ้ม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่ใต้บันไดให้เป็นห้องน้ำสำหรับแขก กฏหมายเกี่ยวกับการสร้างห้องน้ำใต้บันได คือต้องพิจารณาถึงระดับความสูงของเพดานห้องให้เพียงพอ เพราะหากพื้นที่ตรงนั้นมีเพดานด้านที่สูงน้อยที่สุดไม่ถึง 2 เมตรก็ไม่สามารถทำเป็นห้องน้ำเพื่อใช้งานได้นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อความปลอดโปร่งและปลอดภัยในการใช้งาน
7. บันไดของบ้านต้องกว้างมากกว่า 80 เซนติเมตร
‘บันได’ ถือว่าเป็นอีกจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การสร้างบ้านจึงมีข้อกฎหมายบังคับไว้อย่างชัดเจนว่า บันไดในบ้านจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และในแต่ละช่วงต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หากมากกว่านี้จะต้องมีชานพักบันได โดยชานพักบันไดต้องมีระยะห่างแนวดิ่งหรือความสูงจากบันไดอีกชั้นไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร ส่วนชานพักบันไดตามกฎหมายอาคารกำหนดให้ต้องมีความกว้างอย่างน้อย 0.90 เมตร โดยวัดระยะที่โล่งจริงๆ ไม่รวมราวบันไดหรือสิ่งที่ยื่นออกมาขวางทาง
8. ติดรางน้ำฝนเพื่อความเรียบร้อยและสะอาดของบ้าน
สำหรับการติดรางน้ำฝน ไม่ได้ถูกกำหนดในกฏหมายว่าจำเป็นต้องมี แต่ในกรณีที่ทางระบายน้ำของเราอาจเสี่ยงไปโดนบ้านข้างๆ ก็จำเป็นจะต้องติดรางน้ำฝนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง อย่างไรก็ตามด้วยราคาของการติดรางน้ำไม่ได้สูงมากนัก การติดรางน้ำฝนไว้ก่อนเพื่อให้การระบายน้ำของบ้านสะดวก ไม่เลอะเทอะ และไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
9. การดูแลจัดการระหว่างก่อสร้าง
นอกจากเรื่องของการสร้างบ้าน อีกหนึ่งประเด็นคือการดูแลพื้นที่ระหว่างการก่อสร้างอาคาร สำหรับงานก่อสร้างที่มีความสูงเหนือกว่าระดับดินเกิน 10 เมตร และมีด้านที่มีระยะราบวัดจากแนวอาคารด้านนอกไปจนถึงที่สาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงของอาคาร ต้องจัดให้มีการกำจัดฝุ่นทำความสะอาดพื้นทุกวัน ตลอดจนป้องกันวัสดุร่วงหล่น นอกจากนี้ยังมีกำหนดว่าโครงสร้างหรือนั่งร้านที่ติดตั้งจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าความสูงของอาคาร และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี ตลอดระยะเวลาก่อสร้างด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าเรื่องของกฏหมายการก่อสร้างจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่เราจำเป็นต้องรู้ก่อนจะเริ่มงานก่อสร้าง นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเลือกใช้วัสดุที่ดี เพื่อให้บ้านของเราสามารถอยู่ต่อได้อีกนาน และไม่เกิดปัญหาภายหลังตามมา เช่นเดียวกับแผ่นยิปซัมคนอฟ ที่มาพร้อมคุณภาพ รักษ์ธรรมชาติ ติดตั้งงานและทนทาน
นอกจากนี้แล้วแผ่นยิปซัมคนอฟยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะ
- เรียบ เนียน และสวยงามเหมาะสำหรับการออกแบบในหลากหลายพื้นที่
- สามารถออกแบบเพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ถึง 45 เดซิเบลเมื่อติดตั้งควบคู่กับวัสดุที่เป็นฉนวนและโครงคร่าวคนอฟ
- ไม่ดูดซับความร้อน ไม่ลามไฟ
- สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
- ไม่มีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมากถึง 5 ชนิด
- ยิปซัมบอร์ดกันชื้น
- ยิปซัมบอร์ดกันรังสี
- ยิปซัมบอร์ดกันไฟ
- ยิปซัมบอร์ดกันร้อน
- ยิปซัมยอร์ดกันกระแทก
เราหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาคารชนิดต่างๆ โดยชัดเจนมากขึ้นเพื่อข้อมูลสร้างสรรค์และงานอื่นๆ เกี่ยวกับการแต่งบ้าน กระบวนการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมเราแนะนำให้คุณลองอ่านเว็บไซต์ของเราซึ่งจะมีการโพสต์บทความสองชิ้น งานต่อเดือนที่พร้อมนำเสนอและเต็มไปด้วยไอเดียดีๆ ให้ทุกคนได้ปรับปรุงบ้านและการก่อสร้างกัน bit.ly/42TDE73
ฝากติดตามเราได้หลากหลายช่องทาง ทั้ง
Article
- REDUCE NOISE POLLUTION BY CHOOSING THE RIGHT GYPSUM FOR THE BUILDING
- HOW TO CHOOSE GYPSUM DESIGN
- HOW TO CHOOSE GYPSUM WHEN THE FIRE
- SHOCK RESISTANCE TEST OF GYPSUM BOARD, IMPACT RESISTANT
- RISKS OF WET AREAS AND CHOICE OF GYPSUM
- CEILING FOR SYSTEM WORK AND MAINTENANCE
- แผ่นยิปซัมบอร์ดประโยชน์สุดคุ้มค่าในการเลือกใช้งาน ตอบโจทย์ทุกมิติ
- เหตุผลที่ควรเลือกใช้งานแผ่นยิปซัมบอร์ดมากกว่าอิฐทนไฟ
- 10 วิธีกำจัดความชื้นภายในบ้าน
- ฝ้า 8 ชนิดที่นิยมใช้ในการสร้างบ้านและอาคาร
- 10 ไอเดียกั้นห้องรูปแบบต่างๆ
- วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง
- 12 วิธีปรับแต่งบ้านและอาคารเพื่อลดอันตรายจากปัญหาไฟไหม้
- วิธีสร้างบ้านให้ทนทานต่อแรงสั่นสะเทือน และความเสียหายที่อาจตามมาจากแผ่นดินไหว
- วิธีปรับแต่งบ้านให้เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง
- 101 วิธีสร้างห้องครัวในฝัน
- ความสำคัญของแสงในการดีไซน์
- วิธีปรับแต่งบ้านและอาคารเพื่อความยั่งยืน
- ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของความร้อนต่อบ้านคุณและวิธีรับมือ
- วิธีทำสวนอย่างสร้างสรรค์
- การสร้างหอประชุมและโรงบรรยายที่ดี
- วิธีแต่งบ้านให้สวยงามยาวนาน
- การดีไซน์เพื่อสุขภาพ
- เทคโนโลยีสมาร์ทโฮม
- วิธีควบคุมความร้อนเมื่อเริ่มสร้างบ้านในช่วงฤดูร้อน
- 10 อันดับโครงการสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจในเอเชีย
- 9 วัสดุก่อสร้างจากอดีตและปัจจุบัน
- 9 วิธีใช้แผ่นยิปซัมอย่างสร้างสรรค์
- 9 เคล็ดลับที่ไม่ลับเกี่ยวกับงานช่างที่คุณควรรู้
- กลยุทธ์การลดต้นทุนการก่อสร้างให้กับลูกค้า
- ให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดด้วยขั้นตอนง่ายๆ ก่อนเริ่มงาน
- อัปเดตปี 2023 อาคารที่ได้รับความนิยมสำหรับสายก่อสร้าง
- วิธีจัดการวัสดุหลงเหลือจากงานก่อสร้าง
- เคล็ดลับก่อสร้างแบบรักษ์โลก
- 6 เทคโนโลยีตัวช่วยในวงการก่อสร้าง
- ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย
- GREEN BUILDING 7 อาคารสีเขียวไอคอนนิกทั่วมุมโลก ให้ชีวิตดีขึ้นและรักษ์โลกมากขึ้น
- รู้ก่อนป้องกันได้กับ 12 ความเสี่ยงจากงานก่อสร้าง
- 5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน
- 6 เรื่องความเข้าใจผิดที่ผู้รับเหมาอาจบอกเราไม่หมด!
- 5 ข้อดีสร้างบ้านช่วงหน้าหนาว ปลอดภัย หมดห่วงเรื่องฝน
- แจก 9 คู่สีแต่งห้องใหม่ เปลี่ยนสีสันในบ้านต้อนรับ 2024
- รวม 9 ข้อกฏหมายสร้างบ้านพื้นฐานที่ต้องรู้
- พื้นที่ก่อสร้างควรสะอาดและปลอดภัย ทำยังไงได้บ้าง
- เคล็ดไม่ลับช่วยรับมือปัญหาโครงสร้างเสื่อมสภาพ
- รู้จักกับ 10 ‘เมืองอัจฉริยะ’ อันดับโลก
- ปักหมุด 13 โรงแรมดีไซน์ดีอันดับต้นของโลก
- 10 หัวข้อฝึกอบรมที่ช่างคุณภาพห้ามพลาด
- ผลประโยชน์ของการวางผังเมือง
- อนุรักษ์อาคารทางประวัติศาสตร์เริ่มยังไง?
- วิธีป้องกันอันตรายจากวัตถุเป็นพิษในไซต์งานก่อสร้าง
- 10 อันดับวัสดุกันไฟชั้นดี
- เคล็ดลับเด็ดเตรียมรับมือกับสภาพอากาศร้อนและชื้น
- อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน
- มารู้จักกับวัสดุกันน้ำหลากชนิด และ วิธีปกป้องบ้านจากปัญหาน้ำรั่วซึม
- ร่างสัญญาจ้างก่อสร้างง่ายกว่าที่คิด!
- เคล็ดลับควบคุมคุณภาพงานที่พี่ช่างควรรู้
- ก่อสร้าง กับ ปรับปรุง อะไรคือความแตกต่าง ?
- มาสร้างบ้านสวยปลอดภัยไปกับ KNAUF
- นึกสร้างบ้านยั่งยืนมีตัวเลือกเพียบ!
- สร้างบ้านหลังแรกด้วยเคล็ดลับจากมือโปร
- KNAUF GYPSUM เปลี่ยนอาคารสู่มาตรฐานระดับโลก
- MIX&MATCH GYPSUM FOR TYPE OFFICE ROOM
- แผ่นยิปซัมกันร้อน ตราคนอฟ (KNAUF HEATSHIELD) ตัวช่วยบ้านเย็นสบาย
- ดูแลพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ด้วยผลิตภัณฑ์ยิปซัม KNAUF MOISTSHIELD
- แผ่นยิปซัมทนแรงกระแทก ตราคนอฟ KNAUF DENSESHIELD
- แผ่นยิปซัมทนไฟ ตราคนอฟ (KNAUF FIRESHIELD) เมื่ออัคคีภัยเป็นเรื่องใกล้ตัว
- แผ่นยิปซัมทนรา คนอฟ โมลด์ชิลด์ (KNAUF MOLDSHIELD)ปกป้องคุณจากเชื้อรา
- แผ่นยิปซัมคนอฟ MOISTSHIELD M ทางเลือกพิเศษสำหรับพื้นที่ความชื้นสูง
- KNAUF SAFEBOARD ยิปซัมเพื่อการป้องกันรังสีเอ็กซเรย์
- KNAUF CLEANEO ยิปซัมลดเสียงสะท้อนพร้อมการฟอกอากาศภายในตัว
- KNAUF SOUNDSHIELD ยิปซัมบอร์ดดูดซับเสียงสำหรับคนรักความสงบ
- เสริมเกราะความปลอดภัย ด้วยแผ่นยิปซัมทนไฟนานถึง 2 ชั่วโมง