เคล็ดลับเด็ดเตรียมรับมือกับสภาพอากาศร้อนและชื้น
เคล็ดลับเด็ดเตรียมรับมือกับสภาพอากาศร้อนและชื้น
เราได้ก้าวเข้ามาสู่ช่วงกลางปีกันแล้วซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นหนึ่งในช่วงที่ร้อนที่สุดของปี และ เริ่มมีฝนบ้างเป็นบางช่วง แต่ไม่เพียงแต่คุณจะรู้สึกถึงความร้อน ความอบอ้าว และ ความชื้นที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น บ้านหรือที่ทำงานของคุณก็จะประสบปัญหานี้เช่นกัน ในบทความนี้ เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของความร้อนความชื้น และ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ความร้อน และ ความชื้นขังอยู่ในบ้านพร้อมวิธีแก้ไขต่างๆ ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของความร้อน ความร้อนถูกถ่ายโอนเข้าและออกจากวัตถุ เช่น คุณและบ้านของคุณโดยผ่านกระบวนการ 3 แบบ
- การนำความร้อน
- การแผ่รังสี
- การพาความร้อน
การนำความร้อน: ความร้อนที่เดินทางผ่านวัสดุที่เป็นของแข็งในวันที่อากาศร้อน ความร้อนจะถูกส่งเข้าไปในบ้านของคุณผ่านทางหลังคา ผนัง และ หน้าต่าง
การแผ่รังสี: ความร้อนที่เดินทางในรูปของแสงที่มองเห็นและที่มองไม่เห็น แสงแดดเป็นแหล่งความร้อนที่ชัดเจนมองเห็นได้แต่นอกจากนั้นแล้ว รังสีอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นต่ำและมองไม่เห็นก็สามารถนำพาความร้อนเข้าสู่บ้านได้โดยตรงจากวัตถุที่อุณหภูมิสูงไปยังวัตถุที่เย็นกว่า
การพาความร้อน: การพาความร้อน: เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ความร้อนจากผนังและเพดานไปถึงคุณ อากาศร้อนจะลอยขึ้นตามธรรมชาติ โดยพาความร้อนออกไปจากผนังและไหลเวียนไปทั่วบ้าน เมื่ออากาศร้อนไหลเวียนผ่านผิวหนังของคุณ (และคุณหายใจเข้า) ก็ทำให้คุณอบอุ่นขึ้น
1. เปิดหน้าต่างของคุณในเวลากลางคืน
อุณหภูมิจะลดลงในตอนกลางคืน เราแนะนำว่าเมื่อตกเย็นให้คุณเปิดหน้าต่างเพื่อรับลม และนอกจากนี้อากาศธรรมชาติจากภายนอกจะยังช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะอากาศเย็นไหลเวียนตลอดทั้งคืนจะช่วยให้บ้านเย็นสบายในตอนเช้าอีกด้วย ในวิทยาศาสตร์การก่อสร้าง สิ่งนี้เรียกว่าการระบายอากาศแบบล้างกลางคืน อย่าลืมปิดหน้าต่างและมู่ลี่ก่อนนอนนะคะ
2. ปิดหน้าต่างของคุณ
แสงอาทิตย์สามารถส่งความร้อนผ่านหน้าต่างของคุณโดยตรง ปิดกั้นความร้อนด้วยม่านบังตาหรือมู่ลี่ในช่วงเวลาที่มีแสงแดดมากที่สุดเพื่อให้บ้านของคุณเย็นสบายโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ นี่เป็นวิธีการทำความเย็นแบบพาสซีฟหรือ "ธรรมชาติ" ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ถูกที่สุดและง่ายที่สุดในการทำให้บ้านของคุณเย็นสบาย
3. ทำอาหารและซักผ้าตอนกลางคืน
เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ปล่อยความร้อนออกมาเป็นจำนวนมาก เราแนะนำให้รอช่วงเย็นเพื่อเปิดเตาอบ เครื่องล้างจาน และเครื่องซักผ้าเมื่ออุณหภูมิเย็นลง นอกจากนี้ ให้ลองแขวนผ้าไว้ข้างนอกเพื่อทำให้แห้ง คุณจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปิดเครื่องอบผ้าพร้อมทั้งลดความร้อนและความชื้นในบ้าน
4. ปรุงอาหารนอกตัวบ้าน
หากเป็นไปได้เราแนะนำให้ออกไปทำอาหารข้างนอก ให้เปิดเตาย่างแทนการเปิดเตาอบเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิสะสมในบ้าน
5. ติดตั้งม่านบังแดดด้านนอก
การติดตั้งกันสาด ไม้เลื้อยที่ระเบียง หรือต้นไม้ให้ร่มเงาข้างหน้าต่างด้านทิศตะวันตกจะช่วยปกป้องบ้านของคุณจากแสงแดดที่ร้อนจัดในยามบ่าย
6. ติดตั้งพัดลมในจุดที่เหมาะสม
พัดลมช่วยให้อากาศเคลื่อนที่ไปรอบๆ แทนที่จะทำให้อากาศเย็นลง เป่าลมใส่ผู้คนโดยตรงเพื่อให้ได้ความเย็น หรือตั้งพัดลมให้ดึงอากาศเย็นจากภายนอก (หรือส่วนที่เย็นกว่าของบ้าน) ไปยังบริเวณที่ร้อน
7. ใช้พัดลมดูดอากาศ
พัดลมดูดอากาศในห้องครัวและห้องน้ำของคุณจะจับเอาอากาศร้อนและระบายมันออก ก่อนที่จะปะปนกับอากาศในบ้านและก่อให้เกิดความร้อนสูงเกินไป ใช้พัดลมดูดอากาศระหว่างอาบน้ำหรือทุกครั้งที่ปรุงอาหารเพื่อให้บ้านคงอุณหภูมิที่เหมาะสม
8. ตั้งพัดลมเพดานให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
เมื่ออากาศร้อนคุณควรเซ็ตใบพัดลมให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา (เมื่อคุณมองขึ้นไป) เพื่อดันลมลงตรงๆ ทำให้พัดลมหมุนเวียนอากาศเร็วขึ้น
เรามาดูกันบ้างว่าความชื่นเช่นเดียวกันกับความร้อนสะสมอยู่ในที่พักของคุณ หรือ บ้านที่ซ่อมแซมของเจ้าของบ้านได้อย่างไร? น้ำ และ ความชื้นในบ้านของคุณสามารถผ่านเข้ามาได้หลายวิธี เช่น การรั่วหรือซึมผ่านชั้นใต้ดิน การอาบน้ำหรือแม้แต่การทำอาหารก็สามารถเพิ่มความชื้นในอากาศได้
ปริมาณความชื้นที่อากาศในบ้านของคุณสามารถกักเก็บได้นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ
- เมื่ออุณหภูมิลดลง อากาศจะกักเก็บความชื้นได้น้อยลง
- เมื่ออากาศหนาวเย็น ความชื้นจะเกาะตัวบนพื้นผิวที่เย็น (เช่น หยดน้ำที่ก่อตัวที่ด้านในของหน้าต่าง)
ผลกระทบที่จะตามมาเมื่อความชื้นสะสมมากๆ มีอะไรบ้าง?
1. เกิดปัญหาเชื้อรา
เห็ดราขนาดเล็กเหล่านี้อยู่รอบตัวเรา แต่เมื่อเกิดการสะสมของความชื้นมากๆ ราเหล่านี้จะเกาะตัวบนพื้นผนังและเติบโต ทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างผุพัง รวมไปถึงปัญหาสุขภาพ
2. งานสีเสียหายและผนังลอก
เมื่อเกิดการสะสมของความชื้น ผนังจะอมน้ำและทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังบ้าน
3. เฟอร์นิเจอร์ พื้น และของตกแต่งเน่าเปื่อย
ความชื้นมากเกินไปในบ้านเนื่องจากความชื้นสูงอาจทำให้ไม้เสียหายได้ ไม่ว่าจะโดยการสร้างคราบและการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือในที่สุดอาจทำให้เนื้อที่เน่าเปื่อยรุนแรง
4. ผนังและอิฐเสียหาย
ผนังบ้านโดยทั่วไปจะมีแผงกั้นอากาศ/ไอน้ำ เพื่อป้องกันอากาศชื้นไม่ให้ทะลุพื้นผิวเข้ามาในตัวบ้าน แต่วัสดุเสริมเหล่านี้ไอาจไม่คงทนเสมอไปโดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนขึ้น ความชื้นอาจควบแน่นในวัสดุฐานราก ส่งผลให้เกิดปัญหากับโครงสร้าง
วิธีรับมือกับปัญหาความชื้นสะสม:
1. เปิดเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศของคุณจะลดความชื้นในบ้านตามธรรมชาติโดยการดูดอากาศร้อนออกและนำอากาศเย็นมาใช้ทำให้ปริมาณความชื้นลดลง
2. เปิดพัดลมระบายอากาศ
เมื่อคุณทำอาหาร อาบน้ำ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้บ้านร้อน อย่าลืมใช้พัดลมดูดอากาศหรือพัดลมระบายอากาศเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและลดความชื้น ถ้าคุณไม่มีพัดลมดูดอากาศหรือพัดลมระบายอากาศ เราแนะนำให้พิจารณาติดตั้งในส่วนที่เสี่ยงต่อความชื้นในบ้านของคุณ
3. เปิดเครื่องดูดความชื้น
อุปกรณ์นี้จะช่วยให้บ้านของคุณแห้งและเย็นลงอีกด้วย
4. ซ่อมรอยรั่วภายในบ้าน
ท่อและก๊อกน้ำที่รั่วจะเพิ่มความชื้นให้กับสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ความชื้นโดยรวมเพิ่มขึ้น เราแนะนำให้ซ่อมแซมรอยรั่วหรือหยดน้ำในบ้านของคุณโดยเร็ว
5. เปิดหน้าต่าง
แม้ว่าภายนอกจะมีความชื้น แต่การเปิดหน้าต่างสามารถช่วยลดความชื้นในบ้านของคุณได้ เนื่องจากอากาศที่ไหลเวียนจะทำให้อากาศที่มีความชื้นไม่สะสมในบ้านของคุณ
เมื่อเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของความร้อน วิธีที่ความร้อน และ ความชื้นสะสมในที่พัก และ วิธีหลายควบคุมแล้ว เราขอแนะนำวิธีสุดท้ายนั่นคือการปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นใจต่อสภาพอากาศโดยการเลือกติดตั้งแผ่นยิปซัมกันร้อน และ กันชื้นเพื่อบ้าน
เราแนะนำให้เลือกใช้วัสดุ Knauf เพราะเราเข้าใจถึงความต้องการของพี่ช่าง เราจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความตอบสนองต่อสภาพอากาศ แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วยังปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย
แผ่นยิปซัม Knauf มีให้เลือก 4 รุ่นแตกต่างกัน:
- Heatshield: แผ่นยิปซัมบอร์ดกันร้อน
- StandardShield: แผ่นยิปซัมบอร์ดชนิดมาตรฐาน
- MoistShield: แผ่นยิปซัมบอร์ดชนิดทนชื้น
- FireShield: ผ่นยิปซัมบอร์ดทนต่อเปลวเพลิง
- เรียบ เนียน และสวยงามเหมาะสำหรับการออกแบบในหลากหลายพื้นที่
- สามารถออกแบบเพื่อให้สามารถป้องกันเสียงได้ถึง 45 เดซิเบลเมื่อติดตั้งควบคู่กับวัสดุที่เป็นฉนวนและโครงคร่าวคนอฟ
- ไม่ดูดซับความร้อน ไม่ลามไฟ
- สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
- ไม่มีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากแผ่นยิปซัมแล้วคนอฟยังมีผลิตภัณฑ์ แผ่นยิปซัมทีบาร์ ช่องเซอร์วิส แผ่นอะคูสติก และอีกมากมายให้เลือกใช้
หลังจากที่เราได้ทำความรู้สึกกับอาการเสื่อมสภาพของโครงสร้างแล้ว เราก็สามารถเดินหน้าต่อด้วยการปรับปรุงใหม่ด้วยข้อมูลที่มีมากขึ้น ตราบใดที่คุณได้ทำการบ้านอย่างรอบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญแล้ว คำของคุณก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เราหวังว่าเราจะสามารถให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานี้ และมอบความมั่นใจให้กับคุณในการรับมือกับปัญหาในอนาคตได้อย่างไร้ห่วง
ฝากติดตามเราได้หลากหลายช่องทางเว็บไซต์ https://knauf.co.th/ และ ช่องทางอื่นๆ ตาม QR โค้ด
Article
- REDUCE NOISE POLLUTION BY CHOOSING THE RIGHT GYPSUM FOR THE BUILDING
- HOW TO CHOOSE GYPSUM DESIGN
- HOW TO CHOOSE GYPSUM WHEN THE FIRE
- SHOCK RESISTANCE TEST OF GYPSUM BOARD, IMPACT RESISTANT
- RISKS OF WET AREAS AND CHOICE OF GYPSUM
- CEILING FOR SYSTEM WORK AND MAINTENANCE
- แผ่นยิปซัมบอร์ดประโยชน์สุดคุ้มค่าในการเลือกใช้งาน ตอบโจทย์ทุกมิติ
- เหตุผลที่ควรเลือกใช้งานแผ่นยิปซัมบอร์ดมากกว่าอิฐทนไฟ
- 10 วิธีกำจัดความชื้นภายในบ้าน
- ฝ้า 8 ชนิดที่นิยมใช้ในการสร้างบ้านและอาคาร
- 10 ไอเดียกั้นห้องรูปแบบต่างๆ
- วิธีป้องกันเสียงรบกวนจาก 5 ช่องทาง
- 12 วิธีปรับแต่งบ้านและอาคารเพื่อลดอันตรายจากปัญหาไฟไหม้
- วิธีสร้างบ้านให้ทนทานต่อแรงสั่นสะเทือน และความเสียหายที่อาจตามมาจากแผ่นดินไหว
- วิธีปรับแต่งบ้านให้เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง
- 101 วิธีสร้างห้องครัวในฝัน
- ความสำคัญของแสงในการดีไซน์
- วิธีปรับแต่งบ้านและอาคารเพื่อความยั่งยืน
- ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของความร้อนต่อบ้านคุณและวิธีรับมือ
- วิธีทำสวนอย่างสร้างสรรค์
- การสร้างหอประชุมและโรงบรรยายที่ดี
- วิธีแต่งบ้านให้สวยงามยาวนาน
- การดีไซน์เพื่อสุขภาพ
- เทคโนโลยีสมาร์ทโฮม
- วิธีควบคุมความร้อนเมื่อเริ่มสร้างบ้านในช่วงฤดูร้อน
- 10 อันดับโครงการสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจในเอเชีย
- 9 วัสดุก่อสร้างจากอดีตและปัจจุบัน
- 9 วิธีใช้แผ่นยิปซัมอย่างสร้างสรรค์
- 9 เคล็ดลับที่ไม่ลับเกี่ยวกับงานช่างที่คุณควรรู้
- กลยุทธ์การลดต้นทุนการก่อสร้างให้กับลูกค้า
- ให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดด้วยขั้นตอนง่ายๆ ก่อนเริ่มงาน
- อัปเดตปี 2023 อาคารที่ได้รับความนิยมสำหรับสายก่อสร้าง
- วิธีจัดการวัสดุหลงเหลือจากงานก่อสร้าง
- เคล็ดลับก่อสร้างแบบรักษ์โลก
- 6 เทคโนโลยีตัวช่วยในวงการก่อสร้าง
- ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้ปลอดภัย
- GREEN BUILDING 7 อาคารสีเขียวไอคอนนิกทั่วมุมโลก ให้ชีวิตดีขึ้นและรักษ์โลกมากขึ้น
- รู้ก่อนป้องกันได้กับ 12 ความเสี่ยงจากงานก่อสร้าง
- 5 อาคารในอนาคตรับมือวิกฤตการณ์โลกรวน
- 6 เรื่องความเข้าใจผิดที่ผู้รับเหมาอาจบอกเราไม่หมด!
- 5 ข้อดีสร้างบ้านช่วงหน้าหนาว ปลอดภัย หมดห่วงเรื่องฝน
- แจก 9 คู่สีแต่งห้องใหม่ เปลี่ยนสีสันในบ้านต้อนรับ 2024
- รวม 9 ข้อกฏหมายสร้างบ้านพื้นฐานที่ต้องรู้
- พื้นที่ก่อสร้างควรสะอาดและปลอดภัย ทำยังไงได้บ้าง
- เคล็ดไม่ลับช่วยรับมือปัญหาโครงสร้างเสื่อมสภาพ
- รู้จักกับ 10 ‘เมืองอัจฉริยะ’ อันดับโลก
- ปักหมุด 13 โรงแรมดีไซน์ดีอันดับต้นของโลก
- 10 หัวข้อฝึกอบรมที่ช่างคุณภาพห้ามพลาด
- ผลประโยชน์ของการวางผังเมือง
- อนุรักษ์อาคารทางประวัติศาสตร์เริ่มยังไง?
- วิธีป้องกันอันตรายจากวัตถุเป็นพิษในไซต์งานก่อสร้าง
- 10 อันดับวัสดุกันไฟชั้นดี
- เคล็ดลับเด็ดเตรียมรับมือกับสภาพอากาศร้อนและชื้น
- อนาคตของตึกระฟ้ากับความยั่งยืน
- มารู้จักกับวัสดุกันน้ำหลากชนิด และ วิธีปกป้องบ้านจากปัญหาน้ำรั่วซึม
- ร่างสัญญาจ้างก่อสร้างง่ายกว่าที่คิด!
- เคล็ดลับควบคุมคุณภาพงานที่พี่ช่างควรรู้
- ก่อสร้าง กับ ปรับปรุง อะไรคือความแตกต่าง ?
- มาสร้างบ้านสวยปลอดภัยไปกับ KNAUF
- นึกสร้างบ้านยั่งยืนมีตัวเลือกเพียบ!
- สร้างบ้านหลังแรกด้วยเคล็ดลับจากมือโปร
- KNAUF GYPSUM เปลี่ยนอาคารสู่มาตรฐานระดับโลก
- MIX&MATCH GYPSUM FOR TYPE OFFICE ROOM
- แผ่นยิปซัมกันร้อน ตราคนอฟ (KNAUF HEATSHIELD) ตัวช่วยบ้านเย็นสบาย
- ดูแลพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ด้วยผลิตภัณฑ์ยิปซัม KNAUF MOISTSHIELD
- แผ่นยิปซัมทนแรงกระแทก ตราคนอฟ KNAUF DENSESHIELD
- แผ่นยิปซัมทนไฟ ตราคนอฟ (KNAUF FIRESHIELD) เมื่ออัคคีภัยเป็นเรื่องใกล้ตัว
- แผ่นยิปซัมทนรา คนอฟ โมลด์ชิลด์ (KNAUF MOLDSHIELD)ปกป้องคุณจากเชื้อรา
- แผ่นยิปซัมคนอฟ MOISTSHIELD M ทางเลือกพิเศษสำหรับพื้นที่ความชื้นสูง
- KNAUF SAFEBOARD ยิปซัมเพื่อการป้องกันรังสีเอ็กซเรย์
- KNAUF CLEANEO ยิปซัมลดเสียงสะท้อนพร้อมการฟอกอากาศภายในตัว
- KNAUF SOUNDSHIELD ยิปซัมบอร์ดดูดซับเสียงสำหรับคนรักความสงบ
- เสริมเกราะความปลอดภัย ด้วยแผ่นยิปซัมทนไฟนานถึง 2 ชั่วโมง